ข นห วข อใหม ต องข นหน าใหม ม ย

ก่อนที่คุณจะสลับ Apple Watch ไปยัง iPhone เครื่องใหม่ ให้อัปเดต iPhone เครื่องเก่าเป็น iOS เวอร์ชั่นล่าสุดที่มีให้บริการ* คุณควรอัปเดต Apple Watch ของคุณด้วย ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่นาทีจนถึงหนึ่งชั่วโมง การอัปเดตจึงจะเสร็จสมบูรณ์ คุณอาจต้องการอัปเดตในช่วงเวลากลางคืนหรือรอจนกว่าคุณจะมีเวลาว่าง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งคู่ได้รับการชาร์จไฟเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

* คุณอาจเห็นว่า iPhone ของคุณอัปเดตเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันแล้ว แต่ยังมีรายการอัปเดตอยู่ ตัวอย่างเช่น แม้ว่า iPhone ของคุณจะอัปเดตเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของ iOS 14 แล้ว แต่อาจมีตัวเลือกให้อัปเดตเป็น iOS 15 ด้วย

ตรวจสอบการตั้งค่าแอปสุขภาพและแอปกิจกรรม

หากคุณสำรองข้อมูลโดยใช้ iCloud ให้ไปที่การตั้งค่า > [ชื่อของคุณ] > iCloud และตรวจสอบให้แน่ใจว่าสุขภาพเปิดอยู่

หากคุณสำรองข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ให้เข้ารหัสข้อมูลสำรอง เพื่อบันทึกคอนเทนต์สุขภาพและกิจกรรมของคุณ

iCloud จะไม่จัดเก็บข้อมูลการแชร์กิจกรรมของคุณ

สำรองข้อมูล iPhone เครื่องเก่าของคุณ

ตั้งค่า iPhone เครื่องใหม่ของคุณ

เปิดแอป Apple Watch บน iPhone เครื่องใหม่ของคุณ

ปลดล็อค Apple Watch ของคุณไว้และสวมบนข้อมือของคุณไว้ โดยมี iPhone ของคุณที่อยู่ใกล้ๆ เปิดแอป Apple Watch บน iPhone ของคุณ

หาก iPhone ขอให้คุณยืนยันว่าต้องการใช้นาฬิกาหรือไม่ ให้ทำตามขั้นตอนบนหน้าเพื่อดำเนินการตั้งค่าให้เสร็จสมบูรณ์

หาก iPhone ขอให้คุณเริ่มจับคู่ ให้เลิกจับคู่ Apple Watch ของคุณ เพื่อให้คุณสามารถตั้งค่าได้

หลังจากตั้งค่าเสร็จแล้ว คุณสามารถเริ่มใช้ Apple Watch กับ iPhone เครื่องใหม่ของคุณได้เลย

ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมใช่หรือไม่

ทำตามขั้นตอนด้านล่างสำหรับตามของคุณ

หากคุณไม่มี iPhone เครื่องเก่า หรือคุณไม่สามารถสำรองข้อมูลเครื่องนี้ได้ คุณจะไม่สามารถกู้คืนเนื้อหาสุขภาพและกิจกรรมของคุณได้

ปวดหัวเข่า นับว่าเป็นอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งไม่ใช่ว่าจะมีเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ รวมถึงช่วงวัยอื่นๆ ก็อาจเกิดอาการได้เช่นเดียวกัน

ปวดหัวเข่าเป็นอาการของระบบข้อต่อกระดูก กล้ามเนื้อ ซึ่งพบได้บ่อยว่าเป็นอาการที่ทำให้คนไข้ต้องมาปรึกษาแพทย์ หรือต้องมาตรวจที่โรงพยาบาล เพราะกระทบกระเทือนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยรับน้ำหนัก และเคลื่อนไหวร่างกาย

Table of Contents

ปวดหัวเข่า มีอาการอย่างไรบ้าง

ปวดหัวเข่า หรือปวดข้อเข่า คืออาการที่มีการเจ็บ ปวด ขัด เสียว มีความรู้สึกไม่มั่นคง หรือความรู้สึกว่าข้อเข่าไม่มีแรง ซึ่งอาจรู้สึกได้ทั้งบริเวณด้านหน้าเข่า ด้านหลังข้อเข่า รวมถึงด้านข้างทั้งสองด้านของข้อเข่าด้วย บางครั้งอาจพบว่ามีอาการปวดร้าวขึ้นไปบนต้นขา หรือปวดร้าวลงไปบริเวณน่อง ซึ่งเป็นอาการปวดที่พบร่วมกันกับอาการปวดเข่าได้

เมื่อพูดถึงอาการปวดข้อเข่า เราอาจแบ่งเป็นกลุ่มคร่าวๆ ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มแรก: เกิดจากอุบัติเหตุ หรือ เกิดจากการบาดเจ็บขณะเล่นกีฬา และมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับอวัยวะ หรือ โครงสร้างในช่องข้อเข่า จะทำให้เกิดอาการปวดเข่าจาก กระดูกอ่อนผิวข้อบาดเจ็บ, เอ็นไขว้หน้า, เอ็นไขว้หลังฉีกขาด หรือ หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด เป็นต้น
  • กลุ่มที่สอง: กลุ่มที่เป็นโรคที่เกิดกับอวัยวะนอกข้อเข่า และเกิดจากอาการบาดเจ็บจากการใช้งานเฉียบพลันหรือการเล่นกีฬา ทำให้เกิดการเคล็ด ยอก ของเส้นเอ็นด้านใน – ด้านนอกข้อเข่า หรือพบเจอบ่อยๆ ในนักวิ่งก็คือ อาการเจ็บด้านนอกข้อเข่า IT Band Syndrome (Iliotibial Band Syndrome) หรือเจ็บเคล็ดยอกกล้ามเนื้อหลังเข่า (Hamstring) หรือเกิดการบาดเจ็บอักเสบของเอ็นสะบ้าเข่า เป็นต้น
  • กลุ่มที่สาม: อาการปวดในข้อเข่าที่เกิดจากความเสื่อม หรือการใช้งานข้อเข่าต่อเนื่องยาวนาน และเกิดความผิดปกติขึ้นกับอวัยวะ หรือโครงสร้างภายในข้อเข่า ซึ่งก็คือโรคข้อเข่าเสื่อม (OA Knee) ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันพบว่าโรคนี้เกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยลง โดยเริ่มพบได้บ่อยขึ้นตั้งแต่อายุราว 45 ปีขึ้นไป เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนไป ทำให้เคลื่อนไหวน้อยลง เกิดภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน ซึ่งส่งผลให้ข้อเข่าเกิดการเสื่อมก่อนวัยอันควร นอกจากนี้จะพบว่าข้อเข่าเสื่อมนั้นสามารถเกิดจากโรคข้อสะบ้าเข่าอักเสบ หรือโรคหมอนรองกระดูกในข้อเข่าฉีกขาดจากการใช้งานก็ได้
  • กลุ่มที่สี่: โรคความเสื่อมที่ใช้งานมานาน กับอวัยวะนอกข้อ อย่างเช่นโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง โรคกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง เป็นต้น โดยในกลุ่มนี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อ กระดูก และเส้นประสาทเสื่อมลง ทำงานได้ไม่ดีนัก
    Woman holds her hands to the knee, pain in the knee, medicine, massage concept.

อาการที่พบบ่อยจากการปวดข้อเข่า

ถ้าหากมีอาการเจ็บปวดหัวเข่า เราควรสังเกตว่ามีอาการอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจเบื้องต้น ทั้งยังเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการวินิจฉันโรค

อาการปวดหัวเข่าหรือข้อเข่า แบ่งออกได้หลายรูปแบบ ที่พบได้บ่อยดังนี้

  • อาการปวดข้อเข่าระหว่างมีการขยับใช้งาน

อาการปวดแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อขยับหรือลงน้ำหนักบางท่า เป็นเฉพาะจังหวะที่เคลื่อนไหว ไม่ได้เจ็บปวดตลอดเวลา ถ้านั่งพัก นอนพักเฉยๆ จะไม่มีอาการ อาการปวดแบบนี้บ่งบอกว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับโครงสร้างบางตำแหน่งของข้อเข่าที่มีการใช้งาน หรือรับน้ำหนักเมื่อมีการเคลื่อนไหวเท่านั้น

  • ปวดเฉพาะตอนเริ่มขยับแรกๆ

ปวดเฉพาะตอนเริ่มขยับ พอใช้งานสักพักอาการปวดจะหายไป อย่างเช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า เมื่อลุกขึ้นมาเดิน ขยับก้าวแรกจะปวดหัวเข่ามาก แต่พอขยับเคลื่อนไหวสักพักอาการปวดจะทุเลาลง หรือตอนกลางวันที่นั่งทำงานนานๆ พอลุกขึ้นยืนจะเจ็บหัวเข่ามากๆ เดินไปสัก 5-10 ก้าวอาการเจ็บถึงจะเบาบางลง

ในกลุ่มนี้บ่งบอกว่าเป็นอาการอักเสบที่ยังไม่รุนแรงมากนัก เพราะเวลาที่เราไม่ได้ขยับข้อเข่าเป็นเวลานาน จะมีอาการอับเสบสะสมอยู่ในตำแหน่งที่มีโรค ทันทีที่เราขยับครั้งแรกจะเหมือนเป็นการกระตุ้นให้การอักเสบเพิ่มขึ้น พอใช้งานสักพักจนเลือดเข้าไปเลี้ยงในบริเวณหัวเข่า อาการอักเสบก็จะกระจายออกไปทำให้อาการปวดอักเสบลดลงได้

  • ปวดหัวเข่าตลอดเวลา

ปวดหัวเข่าตลอดเวลาแม้ว่าจะเป็นตอนนอนพัก หรือนั่งอยู่เฉยๆ อาการปวดแบบนี้บ่งบอกถึงการอักเสบที่รุนแรงขึ้น และสารอักเสบที่คั่งมีปริมาณค่อนข้างมากในข้อเข่า ซึ่งอาการอักเสบรุนแรงแบบนี้อาจจะพบร่วมกับอาการบวม แดง ร้อนของข้อเข่า ซึ่งสังเกตได้ด้วยตัวเองง่ายๆโดยเอามือวางสัมผัสบนเข่าทั้ง 2 ข้าง จะพบว่าข้อเข่าข้างที่อักเสบจะมีความอุ่น ร้อนที่มากกว่าเข่าข้างปกติ

  • อาการปวดเฉพาะตำแหน่งที่กดโดน

อาการแบบนี้เรียกว่าเป็นรอยโรค หรือพยาธิสภาพเฉพาะตำแหน่งที่เรากดเท่านั้น เช่นการบาดเจ็บ การเคล็ดอักเสบของ IT Band ซึ่งเป็นเส้นเอ็นที่อยู่ด้านนอกเข่า ซึ่งจะทำงานหนักเวลาวิ่ง จะเจ็บเฉพาะเวลาที่กดโดน แต่ถ้าเป็นการใช้งานทั่วไป นั่ง ยืน เดิน นอน จะมีอาการเจ็บน้อย หรือไม่เจ็บเลย

การดูแลรักษาตัวเองเบื้องต้น หากมีอาการปวดหัวเข่า

  • พักการใช้งาน

เพราะเข่าเป็นอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนไหว ยืน เดิน รับน้ำหนัก เมื่อเราใช้งานมากขึ้นก็จะมีโอกาสให้เกิดการอักเสบมากขึ้น เพราะฉะนั้นให้พักการใช้งาน ลดการเคลื่อนไหว แต่ไม่ต้องถึงกับไม่ขยับขาเลย เรียกว่ายังใช้งานกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ให้ลดกิจกรรมการใช้งานข้อเข่าลง เช่นไม่ยืน เดิน ขึ้นลงบันไดมากๆ เหมือนปกติ เป็นต้น

  • ยกปลายขาสูง

ไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่งหรือท่านอน ให้ยกปลายขาสูงขึ้น สำหรับท่านั่งให้ยกขาขึ้นมาบนเก้าอี้ ส่วนท่านอนอาจจะหาหมอนหรือผ้าห่มหนุน เพื่อยกปลายเท้าให้สูงขึ้นกว่าลำตัว เพราะถ้าหากปลายขาอยู่ต่ำจะทำให้เลือดลงไปคั่งในบริเวณหัวเข่าที่เกิดการอักเสบ ทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้น

  • การประคบเย็น ประคบร้อน

ถ้าเกิดการอักเสบเฉียบพลันภายใน 24 ชั่วโมงแรก แนะนำให้ประคบเย็นเพื่อให้ความเย็นไปหยุดเลือดบริเวณหัวเข่า ไม่ให้เลือดไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น ทั้งยังป้องกันไม่ให้สารอักเสบเข้ามาสะสมเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเกินจาก 24 ชั่วโมงแรกแล้ว หรือเป็นการอักเสบเรื้อรัง แนะนำให้ประคบอุ่น การประคบอุ่นช่วยให้เลือดเข้ามาเลี้ยงบริเวณหัวเข่ามากขึ้น และเก็บเอาสารอักเสบออกไปได้

woman applying cold pack on swollen hurting knee after sport injury

อาการปวดหัวเข่าแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์

ถ้ามีอาการปวดหัวเข่าที่รุนแรงและชัดเจน อาจจะให้คะแนนความปวด (Pain Scale) ด้วยตัวเองในเบื้องต้น โดยให้คะแนน 0 คือไม่มีความปวดเลย ส่วน 10 ให้จินตนาการว่าคือความปวดที่มากที่สุด ถ้าลองให้คะแนนความปวดด้วยตัวเอง และมีคะแนนความปวดที่มากกว่า 5 คะแนน จะถือได้ว่าเป็นอาการปวดที่ผิดปกติ และควรมาพบแพทย์

  • อาการปวดที่เกิดขึ้นแม้กระทั่งพักหรือไม่ได้เคลื่อนไหว

ถ้าปวดหัวเข่าแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ แสดงว่าการอักเสบที่สะสมอยู่บริเวณข้อเข่าค่อนข้างมาก ซึ่งนับเป็นอาการของโรคที่ค่อนข้างรุนแรง

  • มีอาการปวดเป็นอย่างมากในขณะเคลื่อนไหวเหยียดงอเข่า หรือลงน้ำหนัก

อาการปวดแบบนี้จะทำให้เคลื่อนไหวลำบาก หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลย เรียกง่ายๆ ว่าปวดจนขยับข้อเข่าไม่ได้ ปวดจนยืนลงน้ำหนักไม่ได้ นับเป็นอาการปวดที่ผิดปกติ

  • ข้อเข่าที่บวมมาก

เป็นอาการที่บอกได้ว่าน่าจะเกิดความผิดปกติในข้อเข่าค่อนข้างมาก สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง โดยลองเหยียดขาตรงสุดทั้งสองข้าง จะมองเห็นรอยบุ๋มด้านหน้าข้อเข่าที่จะมีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากข้อเข่าที่มีการบวม จะมีน้ำอยู่ข้างข้อในจนดันโป่งขึ้นมา จนมองไม่เห็นรอยบุ๋มหน้าเข่าเมื่อเปรียบเทียบกับข้างที่ปกติ

  • อาการปวดเข่าร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น
    • พบว่ามีจ้ำเลือด หรือรอยช้ำรอบๆ หัวเข่า ไม่ว่าจะด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านหลัง แสดงว่าอาจจะมีเลือดออกเกิดขึ้นกับอวัยวะในข้อเข่าหรือรอบๆ ข้อเข่า
    • อาการงอหรือเหยียดเข่าได้ไม่สุด โดยที่ไม่เจ็บ อาการลักษณะนี้อาจจะมีอะไรติดขัดอยู่ในข้อ เป็นอาการที่ควรรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่ม
    • อาการไข้ ตัวร้อน ถ้ามีอาการนี้ร่วมด้วย บ่งบอกว่าอาจจะมีอาการติดเชื้อภายในข้อเข่า เป็นอาการที่ไม่ปกติ ที่ควรต้องไปพบแพทย์

อาการปวดหัวเข่าจริงๆ แล้วสามารถแยกย่อยออกมาได้หลายสาเหตุหลายโรค และยังมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป ดังนั้น เพื่อรักษาข้อเข่าให้อยู่กับเราไปนานๆ วิธีที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดคือการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย โดยเฉพาะในรายที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง และการปฏิบัติตัวเบื้องต้นอาจไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นได้

Q&A

Q: อาการที่พบบ่อยจากการปวดข้อเข่า มีอะไรบ้าง

1. อาการปวดข้อเข่าระหว่างการขยับใช้งาน จะเกิดขึ้นเมื่อขยับหรือลงน้ำหนักบางท่า เป็นเฉพาะจังหวะที่เคลื่อนไหว ไม่ได้เจ็บปวดตลอดเวลา ถ้านั่งพัก นอนพักเฉยๆ จะไม่มีอาการ 2. ปวดเฉพาะตอนเริ่มขยับ พอใช้งานสักพักอาการปวดจะหายไป อย่างเช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า เมื่อลุกขึ้นมาเดิน ขยับก้าวแรกจะปวดหัวเข่ามาก แต่พอขยับเคลื่อนไหวสักพักอาการปวดจะทุเลาลง 3.ปวดหัวเข่าตลอดเวลาแม้ว่าจะเป็นตอนนอนพัก หรือนั่งอยู่เฉยๆ อาการปวดแบบนี้บ่งบอกถึงการอักเสบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาการอักเสบรุนแรงแบบนี้อาจจะพบร่วมกับอาการบวม แดง ร้อนของข้อเข่า

Q: อาการปวดหัวเข่าแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์

1. อาการปวดที่เกิดขึ้นแม้ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งนับเป็นอาการของโรคที่ค่อนข้างรุนแรง 2. มีอาการปวดเป็นอย่างมากในขณะเคลื่อนไหวเหยียดงอเข่า หรือลงน้ำหนัก อาการปวดแบบนี้จะทำให้เคลื่อนไหวลำบาก หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลย 3. ข้อเข่าที่บวมมาก เป็นอาการที่บอกได้ว่าน่าจะเกิดความผิดปกติในข้อเข่าค่อนข้างมาก สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง โดยลองเหยียดขาตรงสุดทั้งสองข้าง จะมองเห็นรอยบุ๋มด้านหน้าข้อเข่าที่จะมีอยู่ตามธรรมชาติ

แท็ก

ปวดหัวเข่า

เจ็บหัวเข่า

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดเต็มข้อ 1 ข้าง โดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด MAKO โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดข้อเข่าเเละข้อสะโพกเทียม...

330,000* บาท

สิ้นสุด 31/03/2024

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด MAKO เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดข้อเข่าเเละข้อสะโพกเทียม...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด