การเขียนแสดงความรู้สึก ตัวอย่าง

เคยอ่านนิยายเรื่องไหนแล้วรู้สึกว่าเนื้อหาจืดชืด ไม่น่าสนใจบ้างไหม ทั้งที่คนเขียนบรรยายว่าตื่นเต้นๆๆๆ แต่อ่านแล้วเรากลับเบื่อๆ เนือยๆ รู้สึกว่าตัวละครอะไรก็ไม่รู้ ไม่น่าสนใจเลยสักนิด นั่นเพราะเราไม่เชื่อมต่อกับตัวละคร และสาเหตุก็มาจากนักเขียนไม่สามารถเขียนให้เรามีอารมณ์ร่วมได้ อารมณ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก และการเขียนนิยายให้คนอ่านรู้สึกอินหรือเชื่อมโยงกับตัวละครของเราก็เป็นเรื่องสำคัญ เราไม่สามารถเขียนแค่ว่า เขาเศร้า แล้วทำให้คนอ่านรู้สึกอินได้ แต่มันยังมีวิธีสร้างความรู้สึกเศร้าๆ ให้กับตัวละครได้ และทำให้คนอ่านรู้สึกได้ว่าตัวละครของเราเศร้าจริงๆ แต่จะมีวิธีอะไรบ้างไปดูกัน

เทคนิคยอดฮิต แสดงแต่ไม่บอก (Show, Don’t Tell)

ถ้าคุณเป็นนักเขียนมาสักพัก ยังไงก็น่าจะเคยได้ยินเรื่องของเคล็ดลับนี้มาบ้าง เป็นเคล็ดลับที่พูดถึงเรื่องของอารมณ์ได้ดีที่สุด ไหนเราลองมาดูวิธีง่ายๆ ในการเล่าทั้งแบบแสดงแต่ไม่บอก กับแบบบอกตรงๆ กัน

สมมติว่าเนื้อหาคือ ก. เลิกกับ ข. ในระหว่างการกินมื้อเย็นที่ร้านอาหารสาธารณะ

  • บอกตรงๆ : ข. ทำได้แค่กลั้นกลืนน้ำตาลงไป ขณะที่เธอเดินออกจากร้านอาหาร เธอเจ็บปวดมากกับการบอกเลิกครั้งนี้
  • แสดงให้เห็น : ข. กะพริบตาถี่ๆ ไล่น้ำตากลับลงไปและเชิดหน้าขึ้นสูง ระหว่างที่ก้าวไปตามทางเดิน เธอกล้ำกลืนบางอย่างที่จุกในอก ระหว่างที่เดินก้มหน้า ดวงตาของเธอฝ้ามัว เต็มไปด้วยเงาของน้ำตาที่พยายามข่มกลั้นเอาไว้ให้มากที่สุด ปลายนิ้วของเธอชาจนเธอแทบไม่รู้สึกถึงอะไร

จะสังเกตว่าการบอกเล่าแบบแสดงให้เห็นนั้นดูชัดเจน เราได้รู้ว่าข. รู้สึกอย่างไร โดยไม่ต้องบอกตรงๆ เราสงสารเห็นใจเธอ และมองเห็นความเจ็บปวดของเธอโดยไม่ต้องพูดว่าเจ็บปวด แต่การใช้วิธีแสดงให้เห็น ไม่ได้บอกตรงๆ นั้น ก็ต้องเพิ่มเติมด้วย…

ขุดให้ลึกถึงความรู้สึกของตัวละคร

นักเขียนใหม่ๆ อาจจะเผลอลืมเขียนถึงสิ่งเหล่านี้ ความคิดความรู้สึกการแสดงออกของตัวละคร เรามาดูกันดีกว่าว่าผสมผสานมันลงไปได้อย่างไร

ข. กะพริบตาไล่น้ำตากลับลงไป เชิดหน้าขึ้นสูง เธอไม่ยอมให้ก สุขใจที่ได้เห็นน้ำตาของเธอ ไม่มีวันให้เขาได้เห็นเมื่อเขาทำกับเธอถึงขนาดนี้ ระหว่างที่เดินไปตามทางเท้า เธอต้องกล้ำกลืนบางอย่างในลำคอ นี่เป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะไว้ใจผู้ชาย ครั้งสุดท้ายที่เธอจะปล่อยให้ตัวเองอ่อนไหวขนาดนี้ เมื่อเดินก้มหน้าลง ดวงตาของเธอเป็นฝ้ามัวด้วยเงาของน้ำตาทั้งที่พยายามข่มกลั้นจนสุดความสามารถ ค. พูดไว้ไม่ผิดเลย เธอควรจะรับฟัง

เห็นไหม เราได้พูดถึงความคิดของตัวละครอย่างชัดเจน และทำให้เห็นว่าเธอกำลังรู้สึกในระดับที่ลึกซึ้งมากขึ้น และนั่นยังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเธอมากขึ้นด้วย เวลาเขียนฉากเกี่ยวกับอารมณ์ แสดงให้เห็นดีกว่าบอกตรงๆ แม้แต่ความคิดของตัวละคร ก็ควรบอกเล่าให้เห็นถึงอารมณ์ สิ่งที่ควรทำคือ ใส่ความคิดของตัวละครที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ความรู้สึกภายในของเขาคนนั้น และเล่าถึงการแสดงออกที่เป็นเอกลักษณ์ของเขา

เหตุผลภายในใจของตัวละคร

แทนที่จะคิดแต่การเล่าว่าทำไมเธอถึงร้องไห้ ลองเขียนเล่าว่าทำไมตัวละครตัวนั้นๆ ถึงต้องรู้สึกแบบนั้น เวลาเขียนเล่าแบบนี้ เราจะได้รับรู้เหตุผลภายในใจของตัวละครด้วย ทำไมก. ถึงเลิกกับข. ด้วยเหตุผลอะไรหรือ และเพราะอะไรเธอจึงร้องไห้ แล้วความคิดของเธอล่ะ จิตใจภายในเป็นอย่างไร การเลิกราส่งผลกระทบต่อเธออย่างไร

การตอบกลับอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวละคร

ไม่มีอารมณ์ไหนที่ไม่เหมือนใคร และในบางสถานการณ์คนเราแสดงออกแบบเดียวกัน แต่หน้าที่ของคุณคือทำให้นักอ่านตระหนักได้ถึงจุดเด่นและความไม่เหมือนใครของตัวละครนั้นๆ เช่น ถ้ามีคนชักปืนออกมา เป็นธรรมชาติที่ทุกคนต้องกลัวและหนี ลองจินตนาการสถานการณ์นั้นกับคนสามแบบ แม่เลี้ยงเดี่ยว บาทหลวง และนักฆ่า บรรยายเสียงจังหวะหัวใจเต้น เหงื่อที่ไหลลงไปตามแผ่นหลัง มือที่เกร็งแน่นด้วยความกลัว เราสามารถเล่าให้คนอ่านฟังได้หมดว่าพวกเขากลัวอะไร และสร้างสิ่งที่เป็นลักษณะนิสัยเฉพาะของตัวละครตัวนั้น เริ่มจากคิดว่า ตัวละครคิดอย่างไรกับสถานการณ์ พวกเขาต้องเสียอะไรไป เป็นต้น

ความคิดของแม่เลี้ยงเดี่ยว

  • เธออาจจะต้องทิ้งลูกไว้คนเดียว ไม่มีใครดู
  • เธอไม่อยากตาย อยากอยู่กับลูกให้นานกว่านี้
  • เธออยากกลับไปเห็นลูกอีกครั้ง
  • เธออาจจะอ้อนวอนให้มือปืนเห็นใจ ไว้ชีวิตเธอเพื่อเด็ก
  • เธออาจจะกลัวมาก และต้องการสู้เพื่อจะหนีกลับไปหาลูก
  • เธออาจจะพยายามปล้นปลืนและฆ่าคนถือปืน เพื่ออนาคตของลูก

เธอไม่ได้กลัวแค่เพื่อตัวเองนะ แต่กลัวเพราะคิดถึงอนาคตของลูก ความกลัวผสมความเศร้าและความเครียด เพราะเธอกลัวว่าจะไม่ได้เห็นลูกอีก

ความคิดของบาทหลวง

  • เขาเชื่อว่าถ้าต้องตายเพราะพระเจ้าเป็นเกียรติมาก ไม่กลัวตายหรอก
  • เขาอาจจะคิดว่า เขาล้มเหลว และทำให้มือปืนกลายเป็นคนบาป
  • เขาอาจจะพยายามช่วยเหลือมือปืนจนสุดความสามารถให้พ้นจากการตัดสินใจผิดๆ
  • เขาอาจจะทำให้มือปืนมองเห็นบาป
  • เขาอาจจะเอาตัวเข้าแลกยอมตายเพื่อคนอื่น

ความกลัวของเขาอาจไม่ได้อยู่กับเรื่องความตาย แต่กลัวว่าจะทำให้คนอื่นๆ เดือดร้อน และถ้าเขาปล่อยให้มือปืนทำเรื่องไม่เหมาะสม เขาจะผืดต่อพระเจ้า

ความคิดของนักฆ่า

  • เขาไม่กลัวตาย เพราะฆ่าคนมาเยอะมาก
  • เขาอยากจะฆ่าตัวตายเพื่อความสะใจ
  • เขารู้สึกโล่งอก ถ้าจบจากเรื่องนี้ก็จะไม่ต้องฆ่าใครอีก
  • เขาไม่แคร์ตัวเองแล้ว
  • เขารู้สึกว่า ไม่มีอะไรจะเสีย

นักฆ่าไม่กลัวความตาย แต่เชื่อว่าตัวเองสมควรได้รับมันด้วยซ้ำ เขาอาจจะอยากตาย แต่ก็กลัวอยู่นิดๆ เหมือนกัน ในแต่ละฉากลองบรรยายความรู้สึกของตัวละครให้ชัดเจน

แสดงอารมณ์ตามมุมมองของตัวละคร

การเขียนแสดงอารมณ์ตามมุมมองของตัวละครก็สำคัญเหมือนกัน อาจแสดงออกผ่านภาษากายก็ได้เช่นกัน หรือบรรยายทางความคิดก็ได้อีก เราก็ต้องดูว่ามุมมองนั้นเป็นแบบไหน ถ้ามุมมองบุคคลที่หนึ่งก็จะบรรยายได้ง่ายหน่อย เพราะเป็นเจ้าตัวรู้สึกเอง

ตัวอย่างการบอกเล่าเรื่องสภาพอารมณ์

บอกเล่าอารมณ์และความคิด

บางครั้ง เราก็เขียนบรรยายอารมณ์ผ่านความคิดของตัวละคร เล่าอารมณ์ออกมาดีกว่าแสดงให้เห็น ยกตัวอย่างการเล่าอารมณ์เช่น

ภายในใจของเขาหวั่นไหวระทึก ก. หวาดกลัวสิ่งที่เห็นบนใบหน้าของเธอ เพราะสิ่งที่เขาเห็นคือความว่างเปล่า สีหน้านั้นเย็นชา ไม่มีอะไรเลย เขามองเห็นเงาสีดำทะมึนครอบคลุมอยู่ และรู้ว่าเธอจะทำอะไรก็ได้ เธอไม่กลัวอะไรทั้งนั้น

สังเกตว่า แม้จะเป็นการบอกเล่าแต่เราก็มองเห็นความรู้สึกของตัวละครได้ชัดเจน และเรารู้ว่าเขากลัวอะไร

เล่าอารมณ์ออกมาเอง

บางทีเราก็เล่าอารมณ์ตรงๆ ออกมาได้เลย

ก. ส่งเขาไปหาค. ที่สวนหลังบ้าน เมื่อเขาวางกระเป๋าลงบนทางเท้าและมองแท็กซี่ขับออกไป หัวใจของเขาหวั่นไหว โดดเดี่ยวและไม่มั่นคง

เราเขียนให้เข้าใจว่าตัวละครรู้สึกอย่างไร อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องเขียนบรรยายทุกซอกทุกมุมของความคิด แต่ค่อยๆ เขียนทีละนิดได้

ตัวอย่างของความคิดที่ถ่ายทอดอารมณ์

นักเขียนบางคนก็ใช้วิธีถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครด้วยการค่อยๆ เปิดเผยความคิดของตัวละคร

เมื่อตัวละครรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไร สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครผ่านความคิดได้โดยไม่ต้องแสดงหรือบอกตรงๆ แค่ความคิดอย่างเดียวก็บอกได้หมดแล้ว หรือเมื่อตัวละครไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร บางทีก็ใส่อารมณ์ออกมาให้เคลียร์ๆ ได้

ใช้วิธีเขียนแบบผสมผสาน 3 แบบ

มีนักเขียนมากมายใช้วิธีเขียนแบบผสมผสานเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละคร ทั้งแบบแสดง บอกตรงๆ และถ่ายทอดผ่านความคิดของตัวละคร อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ เช่น

ฉันเริ่มรู้สึกหงุดหงิดแทนความสงบอย่างที่คาดหวังไว้ ฉันก้าวข้ามผ่านปัญหาและไม่พบอะไรใหม่ๆ ฉันไม่สามารถหยั่งรู้ถึงปัญหาที่ไม่คาดคิด เมื่อมองดูแม่น้ำที่เงียบสงบ ฉันไม่มีนัดหมายที่ไหนและไม่ได้ยินเสียงโทรศัพท์ต่อให้มันดังด้วยซ้ำ ฉันได้ยินเสียงหัวใจของตัวเอง เต้นแรงอยู่ในอก ฉันกลับไปที่บ้านเพื่อสำรวจความรู้สึกนี้ ฉันรู้ว่าความกลัวเป็นอย่างไร แต่นี่มันต่างกัน

สิ่งที่นักอ่านได้ : เธอไม่รู้ว่าตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไรและพยายามค้นหาคำตอบ เธอหาทางนิยามอารมณ์ที่กำลังพบเจอ และสงสัยว่าใครทำให้เกิดสิ่งนั้น และความรู้สึกใดที่ร่างกายกำลังสัมผัสอยู่

การผสมผสานวิธีการเขียนจะเพิ่มความลึกและชัดเจน

บางครั้งการกระทำที่แสดงออกอาจไม่ได้ชักนำให้คนอ่านรู้สึกอย่างที่ต้องการ เช่น หัวใจเต้นแรงบอกได้หลายอารมณ์ คุณอาจจะต้องเขียนลงไปให้ชัดเจนเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เข้าใจว่าหัวใจเต้นแรงสื่ออารมณ์แบบไหน แต่ก็ไม่ควรใส่รายละเอียดที่มากจนเกินไปจนทำให้คนอ่านไม่ได้คิดอะไรเลย ลองเลือกดูว่าจะเขียนแบบบอกตรงๆ หรือแสดง ถ้าเป็นไปได้เราว่าบอกตรงๆ เลยก็ดี เพราะไม่อย่างนั้น คนอ่านอาจจะไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นก็ได้

ฉันนั่งลงบนเตียงและหวังว่าเขาจะเป็นพ่อของฉัน ความรู้สึกดีๆ เมื่อเขาอุ้มฉันไว้ กลิ่นหอมๆ ของเขาในตอเช้า และหนวดของเขาที่จั๊กจี้ใบหน้าของฉัน แต่แล้ว ฉันก็ชะงัก เมื่อตระหนักได้ว่าทุกอย่างไม่อาจเป็นความจริง หน้าอกจุกแน่น ฉันกระโจนไปที่ห้องน้ำ และอาเจียนออกมาจนหมด

สิ่งที่นักอ่านได้ : ได้สัมผัสความรู้สึกต่างๆ ผ่านความคิดของตัวละคร และมันให้ผลกระทบได้ดียิ่งกว่าเขียนรายละเอียดมากมายเป็นไหนๆ

เลือกวิธีแบบไหนถ่ายทอดอารมณ์

เวลาเขียนถึงอารมณ์ ลองดูสามวิธีที่เราบอก แสดง บอกตรงๆ หรือบรรยายความคิดในใจ แล้วตัดสินใจว่าวิธีไหนเหมาะกับฉากที่กำลังเขียน

การเขียนแสดงความรู้สึกมีอะไรบ้าง

หลักการเขียนแสดงความรู้สึก ๑. เป็นนักอ่าน สังเกตคำที่ใช้ ๒. ฝึกใช้คำที่แสดงความรู้สึก เช่น ประทับใจ เสียใจ ตื่นตาตื่นใจ ๓. ใช้การพรรณนา ๔. ใช้คำเปรียบเทียบเพื่อแสดงความรู้สึก

การเขียนเพื่อแสดงความรู้มีข้อสังเกตอย่างไร

๑. ต้องทราบจุดประสงค์ว่าจะเขียนแสดงความคิดเห็นเรื่องอะไร ประเด็นไหน ๒. ทำความเข้าใจ ค้นคว้าหาประสบการณ์ด้วยความเป็นไปได้หรือความเป็นจริงในเรื่อง เพื่อแสดง ความคิดเห็นได้ดี มีการติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่องให้มีข้อมูลเพียงพอก่อนการเขียนอ้างอิงประกอบความ คิดเห็น ๓. ควรพิจารณาข้อดีและข้อบกพร่อง นำมาเขียนอย่างมีเหตุผลว่า ...

การเขียนแสดงความรู้คืออะไร

การเขียนแนะนำความรู้ คืออะไร การเขียนแนะนำ คือ การเขียน หรือบรรยายเพื่อบอกข้อปฏิบัติ ข้อควรรู้ วิธีใช้ หรือวิธีทำ ซึ่งจะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้อ่าน ถือเป็นรูปแบบการเขียนที่ให้ประโยชน์มาก ๆ

การเขียนแสดงความคิดเห็นมีจุดประสงค์อย่างไร

เพื่อสนับสนุนข้อเท็จจริง ผู้เขียนอ่านข้อมูลแล้วรู้สึกเห็นด้วย จึงแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประเภทของการเขียนแสดงความคิดเห็น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด