บจก.บ เอ ม.เอส.ไพพ เอ นจ เน ยร ง

สถิติเผย ตั้งแต่ต้นปี 63 - 65 มี 24 บจ.แห่เปลี่ยนชื่อใหม่ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นในกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ - บริการ พบส่วนใหญ่ต้องการรีแบรนด์ธุรกิจใหม่ ส่วนที่เหลือเปลี่ยนชื่อหลังถูกเทคฯ

*** พบ 24 บจ.แห่เปลี่ยนชื่อตั้งแต่ปี 63

ล่าสุด บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า และจะเปลียนชื่อย่อหลักทรัพย์ใหม่เป็น "CPAXT"

ทั้งนี้ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" จึงได้รวบรวมข้อมูลบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่เปลี่ยนชื่อบริษัท และชื่อย่อหลักทรัพย์ ตั้งแต่ 1 ม.ค.63 - 31 ธ.ค.65 พบว่า มีทั้งหมดถึง 24 บริษัท ประกอบด้วย

24 บจ.แห่เปลี่ยนชื่อบริษัทตั้งแต่ต้นปี 63

ชื่อย่อเดิม

ชื่อบริษัทเดิม

ชื่อย่อใหม่

ชื่อบริษัทใหม่

มีผล

OCEAN

โอเชี่ยน คอมเมิรช

ALPHAX

บมจ.อัลฟ่า ดิวิชั่นส์

11-ม.ค.-65

JUTHA

บมจ.จุฑานาวี

BIOTEC

บมจ.ไบโอ กรีน เอ็นเนอร์ยี่ เทค

18-พ.ค.-65

JP*

บมจ.โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี

JSP*

บมจ.โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี

22-ก.ย.-65

TBSP

บมจ.ทีบีเอสพี

PTECH

บมจ.พลัส เทค อินโนเวชั่น

28-เม.ย.-65

S & J*

บมจ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์

S&J*

บมจ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์

18-ส.ค.-65

JSP

บมจ.เจ เอส. พี. พร็อพเพอร์ตี้

SENAJ

บมจ.เสนา เจ พร็อพเพอร์ตี้

10-พ.ค.-65

STAR

บมจ.สตาร์ ยูนิเวอร์แซล เน็ตเวิร์ค

SSS

บมจ.สตาร์ สิทธิ โซลูชั่น

24-ม.ค.-65

TVD

บมจ.ทีวี ไดเร็ค

TVDH

บมจ.ทีวีดี โฮลดิ้งส์

22-ก.ค.-65

NMG

บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป

NATION

บมจ. เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์)

19-พ.ค.-65

BFIT

บมจ.เงินทุน ศรีสวัสดิ์

SCAP

บมจ.ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969

15-ก.ย.-65

KWG

บมจ.คิง ไว กรุ๊ป (ประเทศไทย)

KWI

บมจ.เคดับบลิวไอ

15-พ.ย.-64

UWC

บมจ.เอื้อวิทยา

STOWER

บมจ.สกาย ทาวเวอร์

29-เม.ย.-64

DTC*

บมจ.ดุสิตธานี

DUSIT*

บมจ.ดุสิตธานี

18-มิ.ย.-64

AEC

บล.เออีซี

BYD

บล.บียอนด์

9-ส.ค.-64

MPG

บมจ.เอ็มพีจี คอร์ปอเรชั่น

HEMP

บมจ.เฮลท์ เอ็มไพร์ คอร์ปอเรชั่น

27-เม.ย.-64

TMB

ธนาคารทหารไทย

TTB

ธนาคารทหารไทยธนชาต

23-เม.ย.-64

BLISS**

บมจ.บลิส-เทล

BLISS**

บมจ.บลิส อินเทลลิเจนซ์

14-พ.ค.-64

JTS**

บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์

JTS**

บมจ.จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น

27-ต.ค.-64

SAAM**

บมจ.เอสเอเอเอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์

SAAM**

บมจ.เอสเอเอเอ็ม ดีเวลลอปเมนท์

15-ก.ค.-64

ZMICO

บมจ.ซีมิโก้ แคปปิตอล

XPG

บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล

30-เม.ย.-64

MM

บมจ.มัดแมน

MUD

บมจ.มัด แอนด์ ฮาวด์

1-มิ.ย.-64

DCORP

บมจ.ดีมีเตอร์ คอร์ปอเรชั่น

DV8

บมจ.ดีวี8

7-ส.ค.-63

CHUO

บมจ.ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย)

SLM

บมจ.เอส แอล เอ็ม คอร์ปอเรชั่น

22-ก.ค.-63

FMT**

บมจ.ฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์)

FMT**

บมจ.ไฟน์ เม็ททัล เทคโนโลยีส์

19-พ.ย.-63

ที่มา : SETSMART ข้อมูล 1 ม.ค.63 - 31 ม.ค.65

*เปลี่ยนเฉพาะชื่อย่อหุ้น แต่ใช้ชื่อบริษัทเดิม

**เปลี่ยนเฉพาะชื่อบริษัท แต่ใช้ชื่อย่อหุ้นเดิม

*** หุ้นเงินทุน - บริการ แห่เปลี่ยนชื่อมากสุดช่วง 3 ปีหลัง

โดยในช่วง 3 ปีล่าสุด พบว่าบริษัทที่มีการเปลี่ยนชื่อมากที่สุด ส่วนใหญ่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 14 บริษัท ขณะที่ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีจำนวน 10 บริษัท

กลุ่มธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ และบริการ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบริษัทเปลี่ยนชื่อมากสุดในช่วง 3 ปีหลัง จำนวน 4 บริษัทเท่ากัน รองลงมา คือ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สินค้าอุปโภคและบริโภค, สื่อและสิ่งพิมพ์ และ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ที่ติดโผจำนวน 2 บริษัท เท่ากัน

*** กางสถิติ พบส่วนใหญ่ต้องการรีแบรนด์ธุรกิจ

สถิติในช่วง 3 ปีล่าสุด พบว่า การเปลี่ยนชื่อของ บจ.ส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ต้องการรีแบรนด์ธุรกิจ ประกอบด้วย บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ. เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) หรือ NATION มีผลตั้งแต่ 19 พ.ค.65 เพื่อให้สอดรับกับการปรับโครงสร้างธุรกิจตามนโยบาย "One Nation" คือ การผนึกกำลัง และการสร้าง Synergy ทางธุรกิจระหว่างกลุ่มสื่อทั้ง 8 ในเครือเนชั่น กรุ๊ป

บมจ.โอเชี่ยน คอมเมิรช (OCEAN) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.อัลฟ่า ดิวิชั่นส์ (ALPHAX) ตั้งแต่ 11 ม.ค.65 เพื่อให้สอดคล้องกับ 3 ธุรกิจหลักที่บริษัทต้องการมุ่งเน้น ประกอบด้วย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, กัญชง - กัญชา และ FinTech โดย ALPHAX มีมูลค่าโครงการอสังหาฯมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ที่จะสามารถรับรู้เป็นรายได้ไปจนถึงปี 69 เป็นอย่างน้อย

ขณะที่ ธุรกิจกัญชง - กัญชา ถือเป็นผู้เล่นรายแรก ๆ ที่เข้าไปสู่ตลาดเกิดใหม่ เพื่อหวังชิงความได้เปรียบทางการแข่งขึ้น ส่วนธุรกิจ FinTech ได้มีการลงทุนเข้าซื้อ Leasing จาก สปป.ลาว อย่าง "มะหะทุน (MAHATHUEN)" โดยมีวัตุประสงค์เพื่อช่วยผลักดันรายได้ และการเติบโตให้กับบริษัท

ด้าน บมจ.จุฑานาวี (JUTHA) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ไบโอ กรีน เอ็นเนอร์ยี่ เทค (BIOTEC) ตั้งแต่ 18 พ.ค.65 เพื่อให้สอดคล้องกับการทำธุรกิจใหม่เพิ่มเติม อย่างการผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม จากเดิมที่เน้นธุรกิจพาณิชย์นาวีเป็นหลัก โดยวัตถุประสงค์การทำธุรกิจที่สำคัญเพิ่มขึ้นมา ได้แก่ การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน รวมถึงไบโอดีเซล

ฟาก บมจ.ทีวี ไดเร็ค (TVD) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ทีวีดี โฮลดิ้งส์ (TVDH) มีผลตั้งแต่ 22 ก.ค.65 เพื่อให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่จะปรับโครงสร้างภายในและทรานส์ฟอร์มบริษัท เป็น Super Holdings รองรับการขยายธุรกิจหลากหลายเพื่อรับมือดิสรัปชัน ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจ และนำบริษัทกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต

ต่อด้วย บมจ.เงินทุน ศรีสวัสดิ์ (BFIT) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969 (SCAP) มีผลตั้งแต่ 15 ก.ย.65 เพื่อมุ่งประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีประวัติและความมั่นคงทางการเงิน และสินเชื่อเช่าซื้อเต็มรูปแบบโดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่มุ่งเน้นลูกค้าที่ต้องการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่

ขณะที่ บมจ.ซีมิโก้ แคปปิตอล (ZMICO) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล (XPG) มีผลตั้งแต่ 30 เม.ย.64 เพื่อมุ่งทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล จากเดิมทำธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์, ธนาคารทหารไทย (TMB) เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) มีผลตั้งแต่ 23 เม.ย.64 หลังธนาคารทหารไทย ควบรวมธนาคารธนชาตเข้ามา

บมจ.เอ็มพีจี คอร์ปอเรชั่น (MPG) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.เฮลท์ เอ็มไพร์ คอร์ปอเรชั่น (HEMP) มีผลตั้งแต่ 27 เม.ย.64 เพื่อมุ่งเน้นทำธุรกิจส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งอยู่ในกระแสการเติบโตในอนาคต จากเดิมเป็นเจ้าของร้านขายซีดีแบนด์"แมงป่อง", บมจ.มัดแมน (MM) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.มัด แอนด์ ฮาวด์ (MUD) มีผลตั้งแต่ 1 มิ.ย.64 เพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างการเติบโตในอนาคต ด้วยการขยายสาขาร้านอาหารและเครื่องดื่มภายใต้แบนต์ของตนเอง สู่ต่างประเทศมากขึ้น

ส่วน บมจ.บมจ.เอื้อวิทยา (UWC) เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.สกาย ทาวเวอร์ (STOWER) มีผลตั้งแต่ 29 เม.ย.64 หลังปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ มุ่งเน้นธุรกิจใหม่อย่าง การให้เช่าเสาโทรคมนาคมในต่างประเทศ เป็นหลัก, บล.เออีซี (AEC) เปลี่ยนชื่อเป็น บล.บียอนด์ (BYD) มีผลตั้งแต่ 9 ส.ค.64 เพื่อปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับ ธุรกิจหลักทรัพย์ และเตรียมแตกไลน์ธุรกิจใหม่ โดยการร่วมลงทุนในธุรกิจเดินรถโดยสารไฟฟ้า (EV BUS)

*** 7 บจ. เปลี่ยนแค่ชื่อย่อหลักทรัพย์ - บริษัท

ส่วน อีก 7 บริษัท เปลี่ยนแค่ชื่อย่อหลักทรัพย์ หรือเปลี่ยนแค่ชื่อบริษัท เท่านั้น ประกอบด้วย บมจ.โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) ที่ขอเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก JP เป็น JSP มีผลตั้งแต่ 22 ก.ย.65 และ บมจ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ เปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก S & J เป็น S&J มีผลตั้งแต่ 18 ส.ค.65

ขณะที่ บมจ.บลิส-เทล (BLISS) เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ เป็น "บมจ.บลิส อินเทลลิเจนซ์" แต่ยังคงใช่ชื่อย่อหลักทรัพย์ (BLISS) ตามเดิม มีผลตั้งแต่ 14 พ.ค.64 และ บมจ.ดุสิตธานี (DUSIT) ที่เปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก "DTC" เป็น "DUSIT" แต่ยังคงใช้ชื่อบริษัทตามเดิม มีผลตั้งแต่ 18 มิ.ย.64

บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ (JTS) เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ เป็น "บมจ.จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น" แต่ยังคงใช่ชื่อย่อหลักทรัพย์ (JTS) ตามเดิม มีผลตั้งแต่ 27 ต.ค.64, บมจ.เอสเอเอเอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ (SAAM) เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ เป็น "บมจ.เอสเอเอเอ็ม ดีเวลลอปเมนท์" แต่ยังคงใช่ชื่อย่อหลักทรัพย์ (SAAM) ตามเดิม มีผลตั้งแต่ 15 ก.ค.64

และ บมจ.ฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) หรือ FMT เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ เป็น "บมจ.ไฟน์ เม็ททัล เทคโนโลยีส์" แต่ยังคงใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ (FMT) ตามเดิม มีผลตั้งแต่ 19 พ.ย.63

*** ส่วนอีก 2 บจ.เปลี่ยนชื่อ หลังถูกเทคฯ

ทั้งนี้มีอีก 2 บริษัท ที่เปลี่ยนชื่อเพราะถูกซื้อกิจการ (เทคโอเวอร์) ประกอบด้วย บมจ.เจ เอส. พี. พร็อพเพอร์ตี้ (JSP) ที่เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.เสนา เจ พร็อพเพอร์ตี้ (SENAJ) มีผลตั้งแต่ 10 พ.ค.65

หลังถูก บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ (SENA) เข้าซื้อกิจการ จนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 35.35% หวังขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ - ปริมณฑล และต่างจังหวัด ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกระดับราคา

เช่นเดียวกับ บมจ.ทีบีเอสพี (TBSP) ที่เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.พลัส เทค อินโนเวชั่น (PTECH) ตั้งแต่ 28 เม.ย.65 หลังถูกบมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) เข้าซื้อกิจการ จนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 73.54%

หลังจากนั้น ได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจ ด้วยการเพิ่มธุรกิจตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม และสินค้าอัตโนมัติเข้ามา จากเดิมมีธุรกิจหลัก แค่ผลิตบัตรพลาสติกและบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล เท่านั้น

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh

เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด